Colour Brick Quilt ผ้าห่มควิลท์ง่าย ๆ สำหรับมือใหม่(ตอนที่ 3- เริ่มเย็บ)

Last updated: 16 ก.พ. 2563  | 

Colour Brick Quilt ผ้าห่มควิลท์ง่าย ๆ สำหรับมือใหม่(ตอนที่ 3- เริ่มเย็บ)

 หลังจากเราตัดผ้ากันเรียบร้อยแล้ว  คราวนี้เรามาเริ่มเย็บผ้ากันค่ะ


          ก่อนที่จะเริ่มเย็บผ้าเรามาทำความรู้จักกับตีนผีที่เราจะต้องใช้กันก่อน

          ปกติแล้วตีนผีที่ออกแบบมาสำหรับการเย็บต่อผ้าคือตีนผี 1/4 ซึ่งมีขนาดกว้าง 1/4 "  หรือประมาณ  0.6  ซึ่งเหมาะกับการเย็บโดยใช้หลักนิ้ว  ในรูปคือตีนผีเบอร์ 37   

           แต่ถ้าเราเย็บผ้าโดยใช้หลักเซ็นต์  ให้เราใช้ตีนผีเบอร์ 1  ซึ่งมีขนาดกว้าง 0.7 cm

           ตีนผีที่ใช้อธิบายจะเป็นตีนผีของจักรยี่ห้อ   Bernina  สำหรับจักรยี่ห้ออื่นให้สอบถามที่บริษัทจักรดูนะคะว่าควรใช้ตีนผีแบบไหน


          ทำความรู้จักตีนผีที่เราต้องใช้แล้ว  ก็มาถึงขนาดของตะเข็บที่เหมาะสม  สำหรับขนาดตะเข็บของงานควิลท์ที่เราควรใช้คือ  ตะเข็บขนาด 0.2 มิลลิเมตร  เพราะตะเข็บไม่ถี่เกินไปจนงานย่น   และไม่ห่างจนหลุดได้่ง่าย ๆ เพราะการเย็บงานควิลท์ด้วยจักรเราไม่ต้องย้ำฝีเข็ม  ขนาดของฝีเข็มจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก


        ก่อนจะเริ่มเย็บผ้าจริงทุกครั้ง เราควรหาขนาดของตะเข็บที่เราเย็บได้กันก่อน  เพื่อดูว่าเราควรจะวางตีนผีไว้ตรงไหน  เพื่อที่งานเย็บของเราจะออกมาได้ขนาดพอดี

         ให้เราทดลองเย็บเส้นตรง 2 เส้นห่างกัน 1 ตีนผี  แล้ววัดดูว่าขนาดของตะเข็บที่ได้มีขนาดเท่าไหร่  สำหรับงานชิ้นนี้เราเย็บด้วยหลักเซ็นต์  ดังนั้นฝีเข็มที่ได้ควรจะเป็น 0.7 cm.  แต่ถ้าใช้หลักนิ้วขนาดที่ได้ควรจะเป็น 1/4 "  ถ้าขนาดของตะเข็บไม่ได้ตามนั้น  ให้เราปรับตำแหน่งการวางผ้าแล้วทดลองเย็บใหม่จนกว่าจะได้ขนาดตะเข็บที่พอดี


         ได้ขนาดฝีเข็มและขนาดตะเข็บกันแล้ว  คราวนี้เรามาเริ่มเย็บงานจริงกันได้แล้วค่ะ

         ก่อนเย็บผ้าทุกครั้งเราควรใช้เศษผ้าเล็ก ๆ วางนำไว้ก่อนที่จะเริ่มเย็บทุกครั้ง  ขนาดของผ้านำจะใช้เศษผ้าขนาดไหนก็ได้  

         ข้อดีของการใช้ผ้านำคือ  ช่วยลดปัญหาเศษด้ายตีกันอยู่ใต้ฝีเข็ม และลดปัญหาผ้าย่นตอนเริ่มเย็บ  ช่วยให้งานของเราดูสวยงาม

          นอกจากนี้ข้อดีที่ค้นพบคือ  ช่วยลดปัญหาเศษด้ายพะรุงพะรังบนชิ้นงาน  เพราะการเย็บงานควิลท์ เราต้องเย็บผ้าจำนวนมาก  หลาย ๆ ครั้ง จนทำให้มีเศษด้ายติดบนชิ้นงานมากมาย  แต่ถ้าเรามีผ้านำเศษด้ายก็จะเปลี่ยนเป็นผ้านำ  ทำให้เราตัดออกไ้ด้ง่ายและสะดวก 


          และผลพลอยด้ายจากข้อดีนี้คือ ช่วยให้เราประหยัดด้ายที่ใช้เย็บ  เราเพราะเราไม่ต้องดึงด้ายออกมายาว ๆ เพื่อตัด


         สำหรับผ้าที่เราจะเย็บต่อกันกับผ้าสำหรับทำ lattice กับผ้าบล็อก  ตามรูปเลยค่ะ


          หลังจากวางผ้านำและเย็บบนผ้านำ 3-4 ฝีเข็มแล้ว   แล้วให้เรานำผ้าที่จะเย็บมาวางต่อกันให้ชิด ๆ เหมือนในรูปเลยค่ะ


           เย็บชิ้นแรกเสร็จแล้วให้เราเย็บชิ้นต่อไปทันทีไม่จำเป็นต้องตัดด้ายทิ้ง  ในรูปผ้า lattice จะเป็นเส้นยาว ๆ  เราสามารถวางผ้าบล็อกต่อไปได้เลย

          เย็บแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนผ้าบล็อกหมด


          งานที่ได้จะเป็นแบบนี้  ให้เราเล็มหัวท้ายของงานให้เรียบร้อย


          เล็มผ้าเตรียมไว้ให้เรียบร้อยทุกชิ้น    คราวหน้าเราจะมาวางผ้ากัน  

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้