Last updated: 9 พ.ค. 2564 |
ขนาดของด้ายมีความสัมพันธ์กับลักษณะการใช้งาน
ถ้าเราเย็บต่อผ้า เราต้องการด้ายที่มีขนาดบางแต่ทนทาน
แต่ถ้าเราต้องการแอพพลิเคแบบเนียนเรียบร้อยเหมือนงานมือ เราควรพิจารณาด้ายที่มีความบางมาก หรือถ้าเราแอพพลิเคแบบโชว์ลวดลาย ด้ายที่มีเส้นใหญ่ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
ดังนั้นเราจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับขนาดของด้าย เพื่อให้เราได้งานที่ตรงความต้องการของเรามากที่สุด องค์ประกอบของขนาดด้ายมีอยู่ 2 แบบ คือ ขนาดของเส้นด้ายและจำนวนเส้นใยของด้ายแต่ละเส้น
มาตรฐานของด้ายที่พบทั่วไปจะมี 2 แบบ คือ
1.Number standard เป็นมาตรฐานของอเมริกัน
ถ้าเราดูขนาดของด้าย เราจะเห็นตัวเลขอยู่ 2 แบบ คือ ตัวเลขหลักสิบ แล้วตามด้วยเครื่องหมาย “/” และตัวเลข 2 หรือ 3 เช่น 50/2 50/3
ตัวเลขตัวแรก คือ ขนาดของเส้นด้าย ตัวเลขนี้ได้มาจากความยาวของด้ายเป็นกิโลเมตร ต่อน้ำหนักด้าย 1 กรัม เช่น ด้ายเบอร์ 50 คือด้าย 1 กิโลกรัมยาว 50 โลกิเมตร เลขยิ่งเยอะด้ายยิ่งบาง ด้ายเบอร์ 60 จะบางกว่าด้ายเบอร์ 50
ตัวเลขตัวหลัง คือ จำนวนของเส้นใยที่มาพันเกลียวกันเป็นด้าย 1 เส้น การผลิตด้ายแต่ละเส้นจะเกิดจากการนำเส้นใยมาพันเกลียวกัน ตัวเลขที่พบเห็นโดยทั่วไปคือ เลข 2 และ 3
เลข 2 คือ ด้ายที่เกิดจากการพันเกลียวกันของเส้นใย 2 เส้น
เลข 3 คือ ด้ายที่เกิดจากการพันเกลียวกันของเส้นใย 3 เส้น
ตัวเลขนี้แสดงให้เห็นความแข็งแรงของเส้นด้าย เพื่อให้เราเลือกการใช้งานให้เหมาะสม ในขณะเดียวกันตัวเลขบอกถึงขนาดของเส้นด้ายด้วย ด้ายเบอร์ 50/3 จะมีขนาดใหญ่กว่า 50/2 เล็กน้อย ถึงแม้จะเป็นด้ายเบอร์เดียวกัน
เบอร์ของด้ายแต่ละยี่ห้อจะมีขนาดแตกต่างกันเล็กน้อย และด้าย Cotton กับ Polyester เบอร์เดียวกัน ก็มีขนาดไม่เท่ากัน ดังนั้นการเปรียบเทียบด้ายจึงควรเปรียบเทียบในแต่ละยี่ห้อ และ เปรียบเทียบกับด้ายชนิดเดียวกัน
เบอร์ด้ายที่พบเห็นทั่วไปในท้องตลาดได้แก่
ด้ายเบอร์ 12 ด้ายเส้นใหญ่ใช้สำหรับควิลท์ หรือเดินเส้นโชว์ลวดลาย
ด้ายเบอร์ 30 ใช้สำหรับควิลท์ หรืองานปักชนิดต่าง ๆ
ด้ายเบอร์ 40 ใช้สำหรับควิลท์
ด้ายเบอร์ 50 ใช้สำหรับควิลท์ หรือ เย็บต่อผ้า
ด้ายเบอร์ 60 ใช้สำหรับเย็บต่อผ้า แอพพลิเค หรือเป็นด้ายล่าง
ด้ายเบอร์ 80 ใช้สำหรับแอพพลิเค หรือด้ายล่าง หรือ Micro Quilting
ด้ายเบอร์ 60 ใช้สำหรับแอพพลิเค หรือด้ายล่าง หรือ Micro Quilting
เบอร์ด้ายข้างต้นเป็นเบอร์ตามมาตรฐานอเมริกัน ซึ่งเราคงคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แต่มีมาตรฐานขนาดด้ายอีกประเภทหนึ่งที่เราควรทำความเข้าใจ เพื่อป้องกันการสับสนเวลาเลือกซื้อด้าย
2.มาตรฐาน Tex. เป็นการกำหนดเบอร์ด้ายจาก น้ำหนักของด้ายเป็นกรัมต่อความยาวด้าย 1000 เมตร เช่นด้ายยาว 1000 เมตร หนัก 50 กรัม เบอร์ของด้ายคือ Tex50.
ขนาดของด้ายในมาตรฐานนี้จะกลับกันกับ Number Standard คือ เลขยิ่งเยอะ ด้ายยิ่งเส้นใหญ่
อย่างไรก็ตามมาตรฐานนี้นิยมใช้ในวงการสิ่งทอมากกว่า ในขณะที่ Number Standard จะเป็นที่แพร่หลายมากกว่า
14 ส.ค. 2565
8 ต.ค. 2566
22 ต.ค. 2565
31 ม.ค. 2567